เทคนิคทำอย่างไรให้ออกมาสีแดง? จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงต้นทุนหลักสิบสรรพคุณหลักแสน

มาถึงวันนี้เกษตรกรหลายท่านคงจะคุ้นหูและคุ้นเคยกับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงบ้างไม่มากก็น้อย หลายคนผ่านแปลงเกษตรกรบางราย จะเห็นเจ้าขวดแดงๆที่วางในแปลง คงนึกสงสัยแล้วนะครับว่ามันคืออะไร เรามาทำความรู้จักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกันก่อนนะครับแบบพื้นฐานไม่เจาะลึกเหมือนงานวิจัย

จุลินทรีย์สังเคราะห์เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่เจริญได้ดีในธรรมชาติ ในน้ำเกือบทุกชนิด ทนกรดและด่างได้ดี คุณสมบัติของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ช่วยในกระบวนการใช้คาร์บอนไดออกไซค์สำหรับการสังเคราะห์แสงของพืช การตรึงไนโตรเจน แบคทีเรียกลุ่มสังเคราะห์แสงเมื่อใช้ในนาข้าวจะช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวประมาณ  1-2 เท่าเมล็ดใหญ่ขึ้น เพราะแบคทีเรียกลุ่มสังเคราะห์แสงจะมีคุณสมบัติในการปรับปรุงดิน โดยเปลี่ยนขั้วประจุไฟฟ้าในธาตุกลุ่มฟอสฟอรัสให้มีคุณสมบัติทำให้พืชสามารถดูดฟอสฟอรัสเพิ่มมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

จึงเป็นการเพิ่มผลผลิตในพืช ในช่วงระยะข้าวตั้งท้องถ้าใช้แบคทีเรียกลุ่มสังเคราะห์แสง จะไปยับยั้งการเกิดสารพิษพวกซัลเฟอร์บริเวณราก จึงส่งผลให้รากแข็งแรงดูดซับธาตุอาหารได้ดี ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตและคุณภาพของข้าว แบคทีเรียกลุ่มสังเคราะห์แสงช่วยบำบัดน้ำเสียในระบบประมง สร้างแพลงตอนหน้าดินที่เป็นอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นอาหารเสริมในสัตว์ แบคทีเรียกลุ่มสังเคราะห์แสงผลิตสารสีแดงหรือสีส้ม (คาโรทีนอย) ช่วยเพิ่มสีแดงในไข่แดงแบคทีเรียกลุ่มสังเคราะห์แสงมีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะในบ่อปลา น้ำเสียจากคอกปศุสัตว์

สูตรทั่วไปของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง/น้ำ 3 ลิตร ประกอบด้วย

1. ไข่ไก่ 1 ฟอง กรณีนี้เคยทดลองใช้ไข่ข้าวมาทำ เกิดสีค่อนข้างเร็วประมาณ2อาทิตย์

2. นำปลาชนิดใด(น้ำปลาแท้)ก็ได้ 2-3 ช้อนแกง บางท่านใช้สูตรกะปิแทนน้ำปลา

3. ผงชูรส1ช้อนแกง บางท่านไม่ใส่แล้วแต่สูตรใครสูตรมัน

4. ขวดน้ำพลาสติกขนาด 1.25 ลิตร 3 ใบ

5. น้ำจากบ่อธรรมชาติ (เคยลองน้ำจากบ่อปลา)ก็ได้ผลดีครับ

วิธีทำ

1. ตีไข่ลงไป ใส่น้ำปลา 2-3 ช้อนตามด้วยผงชูรส ตีให้เข้ากัน

2. กรอกนำใส่ขวด 2 ขวด (3ลิตร/ไข่ 1 ฟอง) จากนั้นกรอกไข่ที่ผสมแล้วลงในขวดที่กรอกน้ำไว้ 1-2 ช้อนแกง/ขวด ปิดฝาเขย่าให้เข้ากัน ถ้ามีหัวเชื้อเติมลงไป 1 ช้อนแกง ตากไว้กลางแดดหมั่นเขย่าบ่อยๆ

การใช้งาน

1. แบคทีเรียกลุ่มสังเคราะห์แสง1ลิตร/น้ำ 200 ลิตรสาดให้ทั่วแปลงจะช่วยฟื้นฟูดิน ป้องกันการเกิดโรคเมาซัง

2. กรณีปรับสภาพน้ำก่อนปล่อยสัตว์น้ำ แบคทีเรียกลุ่มสังเคราะห์แสง 5-7 ลิตร/พื้นที่1ไร่ที่ความลึก1.2เมตรจะช่วยสร้างแพลงตอนหนาดินปรับสภาพก๊าซไข่เน่าก้นบ่อ

3. การฉีดพ่นรับท้องข้าวใช้ในอัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร นอกจากนี้ยังใช้ฉีดพ่นไม้ผลในช่วงเริ่มแทงช่อดอก

ทำไมจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแดงบ้าไม่แดงบ้างหรือไม่เกิดสีแดงเลย อาจเกิดจาก

1. สีแดงมากแดงน้อย สาเหตุมาจากจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะสังเคราะห์สีแดงตามปริมาณแสงที่ได้รับ เช่น การนำไว้กลางแดด ก็จะมีสีแดงเข้ม การไว้ในร่มก็จะมีสีแดงจางๆ ถ้าวางไว้ในร่มอาจเกิดตะไคร่น้ำทำให้ไม่เกิดสี

2. ไม่เกิดสี อาจมีสาเหตุจากน้ำที่ใช้ เช่น นำที่มีสารเคมีเจือปน น้ำประปาที่มีปริมาณคลอรีนปนเปื้อน

ที่มา: http://www.homehukbanna.com/?p=2434

[fbcomments url="https://www.parichfertilizer.com/knowledge/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%84%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a1/" width="375" count="off" num="3" title="แสดงความคิดเห็น" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save